เล็งฮุบรถร่วม ‘ช ทวี’ ทุ่มหมื่นล้าน
ซื้อสัมปทานเมล์ 6 พันคัน
แนวหน้า
25 มิถุนายน 2561
นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานสหพันธ์รถเมล์ กทม.และปริมณฑล เปิดเผยว่า ทางสหพันธ์ได้ร่วมมือกับบริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน)หรือ CHO เตรียมจัดตั้งบริษัทร่วมเพื่อลงทุนควบรวมกิจการรถเมล์เอกชนร่วมบริการ(รถร่วม) รองรับการปฏิรูปรถเมล์ 269 เส้นทาง โดยแผนการลงทุนดังกล่าวตั้งเป้าหมายวางแผนในการจัดหารถเมล์เข้าบริษัททั้งสิ้น 6,000 คัน เฉลี่ยคันละ 1.5-2 ล้านบาท รวมวงเงินลงทุนราว 10,000 ล้านบาท และในการจัดซื้อระยะแรกนั้นขณะนี้เจรจาได้แล้ว 1,500 คัน คิดเป็นเงินลงทุนอยู่ที่ราว 2,200-3,000 ล้านบาท รวมถึงเน้นการซื้อสัมปทานเส้นทางเดินรถและตัวรถเมล์เข้ามาเพื่อบริหารเองทั้งหมด เนื่องจากพบว่าผู้ประกอบการรถร่วมหลายรายมีปัญหาขาดทุนสะสมจนไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมในการจัดซื้อรถเมล์ใหม่และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมได้เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก(ขบ.)
ทั้งนี้ ยังมีแผนที่จะจ้างเดินรถเมล์ในแต่ละสายอีกด้วย เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีรายได้ที่มั่นคงและเสถียรภาพ โดยบริษัทจะประกันรายได้ต่อวันที่ 7,500 บาท คิดเป็น 30 บาทต่อกิโลเมตร รวม 250 กิโลเมตรต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปัจจุบันที่ผู้ประกอบการมีรายได้เพียง 5,000 บาทต่อวันต่อคัน และหลังจากที่มีการควบรวมแล้วก็จะมีการลงทุนงานระบบเทคโนโลยีบนรถเมล์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ เช่น ระบบเครื่องอ่านบัตรโดยสารอัตโนมัติ (E-Ticket) รองรับตั๋วร่วม และบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย รวมถึงเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านการสแกนบาร์โค้ดและจ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือ
นอกจากนี้ ยังสนใจรับซื้อกิจการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ของบริษัท กรุงเทพธนาคม เพื่อนำรถ BRT จำนวน 25 คัน มาวิ่งหารายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยมั่นใจว่าจะคุ้มค่าใช้จ่ายให้อยู่ที่ประมาณ 8,000 บาทต่อวันต่อคัน จากปัจจุบันที่มีต้นทุนกว่า 12,000 บาทต่อวันต่อคัน ซึ่งจากการเจรจาเบื้องต้นทางกรุงเทพธนาคมเห็นด้วยแล้วกับแนวคิดดังกล่าวและพร้อมโอนงานบริหารเส้นทางเดินรถ BRT ให้
ส่วนในอนาคตยังมีแผนแนวคิดในการดำเนินกิจการรถเมล์และรถสองแถวให้บริการขนส่งมวลชนแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) ด้วยราคาเหมาเพียงคนละ 30 บาทต่อเที่ยว พร้อมรับส่งถึงหน้าประตูบ้านรวมถึงขนส่งผู้โดยสารไปยังระบบขนส่งมวลชนหลักอย่างรถไฟฟ้าด้วย ซึ่งมองว่าแนวคิดดังกล่าวจะสามารถแก้รถติดได้หากรัฐบาลสนับสนุนนโยบาย Bus lane ทั่วกรุงเทพฯ โดยห้ามรถประเภทอื่นวิ่งในช่องจราจรตั้งแต่ 06.00-08.30 น. และ 17.00-19.30 น.
http://www.naewna.com/business/347443
--------
ช.ทวีลุยลงขันตั้งบริษัทใหม่ จัดทัพเมล์ร่วม
โพสต์ทูเดย์
25 มิถุนายน 2561
สหพันธ์รถเมล์ฯ จับมือ ช.ทวี เดินหน้าควบรวมกิจการรถเมล์ ทุ่มหมื่นล้านรองรับแผนปฏิรูป 269 เส้นทาง
นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานสหพันธ์รถเมล์ กทม. และปริมณฑล เปิดเผยว่า สหพันธ์ได้จับมือทำความร่วมมือกับ บริษัท ช.ทวี ตั้งบริษัทร่วมทุนเพื่อควบรวมกิจการรถเมล์เอกชนร่วมบริการ (รถร่วม) รองรับการปฏิรูปรถเมล์ 269 เส้นทาง ภายหลังพบว่าผู้ประกอบการรถร่วมรายเล็กและรายกลางส่วนใหญ่เกิดปัญหาขาดทุนสะสมจนไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมได้ ตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ทั้งการจัดซื้อรถเมล์ใหม่และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
ทั้งนี้ จะใช้เงินลงทุน 1 หมื่นล้านบาท เพื่อจัดหารถเมล์ 6,000 คัน เฉลี่ยคันละ 1.5-2 ล้านบาทโดยเน้นไปที่การซื้อสัมปทานเส้นทางเดินรถและตัวรถเมล์เข้ามารวมกันเพื่อบริหารเองทั้งหมด ซึ่งการจัดซื้อระยะแรกนั้น ขณะนี้เริ่มเจรจาไปแล้ว 1,500 คัน คิดเป็นเงินลงทุนอยู่ที่ราว 2,200-3,000 ล้านบาท
นอกจากนี้ บริษัทจะลงทุนงานระบบเทคโนโลยีบนรถเมล์เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้ ทั้งระบบเครื่องอ่านบัตรโดยสารอัตโนมัติ (E-Ticket) รองรับตั๋วร่วมและบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย
นายบรรยงค์ กล่าวว่า สนใจรับซื้อกิจการรถเมล์ด่วนพิเศษ BRT ของบริษัท กรุงเทพธนาคม เพื่อนำรถ BRT ในฟลีทจำนวน 25 คัน มาวิ่งหารายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจากการเจรจาเบื้องต้นนั้นทางกรุงเทพธนาคมเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าว พร้อมโอนงานบริหารเส้นทางเดินรถ BRT ให้เมื่อทุกอย่างพร้อม
https://www.posttoday.com/economy/555621
--------
ทุ่มหมื่นล้านกินรวบ "รถเมล์"
เดลินิวส์
25 มิถุนายน 2561
เอกชนเตรียมทุ่มหมื่นล้านบาทควบรวมกิจการรถเมล์ วางหมากทั้งเช่า-ซื้อ หวังบริหารเองทั้งหมดรับปฏิรูปรถเมล์ 269 เส้นทาง วางเป้าเฟสแรก 1,500 คัน เผยสนฮุบกิจการรถเมล์บีอาร์ที ผลเจรจา กทม.ฉลุย
นายบรรยงค์ อัมพรตระกูล ประธานสหพันธ์รถเมล์ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และปริมณฑล เปิดเผยว่า สหพันธ์ได้จับมือบริษัท ช ทวี จำกัด(มหาชน) หรือ CHO เตรียมตั้งบริษัทร่วมเพื่อลงทุนควบรวมกิจการรถเมล์เอกชนร่วมบริการ(รถร่วม) เพื่อรองรับการปฏิรูปรถเมล์ 269 เส้นทาง ภายหลังจากพบว่าผู้ประกอบการรถร่วมรายเล็กและรายกลางส่วนใหญ่เกิดปัญหาขาดทุนสะสมจนไม่สามารถลงทุนเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานกรมการขนส่งทางบก (ขบ.) ทั้งการจัดซื้อรถเมล์ใหม่และติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมสำหรับแผนการลงทุนดังกล่าวตั้งเป้าจัดหารถเมล์เข้าบริษัททั้งสิ้น 6,000 คัน เฉลี่ยคันละ1.5-2 ล้านบาท รวมวงเงินลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาทโดยเน้นไปที่การซื้อสัมปทานเส้นทางเดินรถและตัวรถเมล์เข้ามารวมกันเพื่อบริหารเองทั้งหมดสำหรับการจัดซื้อระยะแรกนั้นขณะนี้เจรจาได้แล้ว 1,500 คัน คิดเป็นเงินลงทุนอยู่ที่2.2-3 พันล้านบาท
นายบรรยงค์ กล่าวต่อว่านอกจากซื้อเส้นทางเดินรถและตัวรถแล้ว ยังมีแผนจ้างเดินรถเมล์ในแต่ละสายอีกด้วยเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการให้มีรายได้ที่มั่นคงและเสถียรภาพโดยบริษัทจะประกันรายได้ต่อวันที่ 7,500 บาท คิดเป็น 30 บาทต่อ กม. รวม 250 กม.ต่อวัน ซึ่งสูงกว่าปัจจุบันที่ผู้ประกอบการมีรายได้เพียง5,000 บาทต่อวันต่อคัน สำหรับมาตรฐานรถเมล์ใหม่หลังควบรวมแล้วบริษัทจะลงทุนงานระบบเทคโนโลยีบนรถเมล์เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ใช้บริการ ทั้งระบบเครื่องอ่านบัตรโดยสารอัตโนมัติ (อีทิคเก็ต) รองรับตั๋วร่วมและบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงเพิ่มช่องทางการชำระเงินผ่านการสแกนบาร์โค้ดและจ่ายผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นสมาร์ทบัสไร้พนักงานเก็บค่าโดยสาร
นายบรรยงค์ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังสนใจรับซื้อกิจการรถเมล์ด่วนพิเศษ (บีอาร์ที) ของบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด อีกด้วย เพื่อนำรถบีอาร์ที 25คันมาวิ่งหารายได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มั่นใจว่าจะคุมค่าใช้จ่ายให้อยู่ที่ 8,000 บาทต่อวันต่อคัน เพียงพอกับรายได้ในแต่ละวัน จากปัจจุบันมีต้นทุนกว่า 12,000 บาทต่อวันต่อคัน จากการเจรจาเบื้องต้นนั้นกรุงเทพธนาคมเห็นด้วยกับแนวคิดดังกล่าวพร้อมโอนงานบริหารเส้นทางเดินรถบีอาร์ทีให้เมื่อทุกอย่างพร้อม
ในอนาคตยังมีแนวคิดดำเนินกิจการรถเมล์และรถสองแถวบริการขนส่งมวลชนแบบจุดต่อจุด (Point-to-Point) ด้วยราคาเหมาเพียงคนละ 30 บาทต่อเที่ยว พร้อมรับส่งถึงหน้าประตูบ้านตลอดจนทำหน้าที่ฟีดเดอร์ขนส่งผู้โดยสารไปยังระบบขนส่งมวลชนหลักอย่างรถไฟฟ้าอีกด้วย ซึ่งแนวคิดดังกล่าวจะสามารถแก้รถติดได้ หากรัฐบาลสนับสนุนนโยบายให้มีช่องทางวิ่งเฉพาะรถเมล์ (Bus lane) ทั่วกรุงเทพฯ โดยห้ามรถประเภทอื่นวิ่งในช่องจราจรตั้งแต่ 06.00-08.30 น. และ 17.00-19.30 น.
![]()
https://www.dailynews.co.th/economic/651039