-
งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 17
สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย แถลงข่าวจัดงาน “มหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 17” ชูแนวคิด “อ่านทั่วไทย อ่านได้ อ่านดี”
“งานมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 17 (Book Expo Thailand 2012)” จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 18-28 ต.ค.2555 เวลา 10.00-21.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย หรือ พูแบท (PUBAT) กล่าวว่า การจัดงานมหกรรมหนังสือระดับชาติประจำปีนี้ มีแนวคิด “อ่านทั่วไทย อ่านได้ อ่านดี” เพื่อสะท้อนถึงปัญหาความแตกต่างของพฤติกรรมการอ่านในสังคมไทย ภายหลังสำนักงานสถิติแห่งชาติ เปิดเผยผลสำรวจการอ่านหนังสือของประชากรทั่วประเทศ ในช่วงเดือน พ.ค. ถึง มิ.ย. 2554 พบว่า อัตราการอ่านของเด็กในเขตเทศบาลสูงกว่าเด็กนอกเขตเทศบาล ขณะที่เด็กเล็กในพื้นที่ภาคกลางมีอัตราการอ่านหนังสือต่ำสุด ร้อยละ 47.4 และเชื่อว่ามีแนวโน้มลดลงเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของไลฟ์สไตล์และเทคโนโลยี ส่วนเด็กเล็กในกรุงเทพมหานครมีอัตราการอ่านสูงสุด ร้อยละ 67.2 และเป็นอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่นๆ สำหรับการอ่านนอกเวลาเรียนและนอกเวลาทำงานของคนไทย อายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป พบอัตราการอ่านร้อยละ 68.8 โดยผู้ชายร้อยละ 69.3 และผู้หญิง ร้อยละ 68.3 ซึ่งกรุงเทพมหานครยังเป็นพื้นที่ที่มีการอ่านมากที่สุด คือ ร้อยละ 89.3
ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นพื้นที่ที่มีอัตราการอ่านหนังสือต่ำที่สุด คือ ร้อยละ 62.8 จำนวนเวลาที่กลุ่มตัวอย่างใช้ในการอ่านหนังสือนอกเวลาเรียนและนอกเวลาทำงาน คิดเป็นค่าเฉลี่ย 35 นาทีต่อวัน โดยกลุ่มเด็กและเยาวชนใช้เวลาอ่านเฉลี่ย 40-41 นาทีต่อวัน ส่วนวัยทำงานและวัยสูงอายุใช้เวลาอ่านหนังสือเฉลี่ย 31-32 นาทีต่อวัน นอกจากนี้ยังสำรวจพบการอ่านในภาคการเกษตร มีเพียงร้อยละ 47.3 ส่วนภาคนอกเกษตรมีอัตราการอ่าน ร้อยละ 76.5
“เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอ่านกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยอาจได้เปรียบหลายประเทศที่มีอัตราการออกเขียนได้ต่ำ อาทิ ลาว พม่า กัมพูชา แต่ขณะเดียวกันเราก็เสียเปรียบหลายประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะปัญหาบัณฑิตไทยในปัจจุบันไม่สามารถอ่านจับประเด็น และขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ รวมถึงทักษะด้านการใช้ภาษา ซึ่งจะกลายเป็นข้อเสียเปรียบบัณฑิตจากประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นเห็นว่าภาครัฐควรเร่งควรหาวิธีเพิ่มทักษะต่างๆ เหล่านี้เพื่อสร้างความแข็งแกร่งในการพัฒนาคนของประเทศให้สามารถแข่งขันกับอาเซียนได้” นายวรพันธ์ กล่าว
ด้าน นายกุลธร เลิศสุริยะกุล ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการพัฒนาหลักสูตร สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) กล่าวว่า จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าเด็กไทยมีอัตราการอ่านหนังสือลดลง ปัจจุบันเฉลี่ยเด็กไทยอ่านหนังสือเพียง 2-5 เล่มต่อปี ซึ่งแตกต่างกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในอาเซียน อาทิ สิงคโปร์ และเวียดนาม ที่มีอัตราการอ่านหนังสือประมาณ 60 เล่มต่อปี
โดยปัญหาหลักของการอ่านหนังสือน้อยของคนไทย เนื่องจากพฤติกรรมการอ่านหนังสือ มีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษา ฐานะทางเศรษฐกิจ และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ โดยเฉพาะนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการอ่านให้คนไทย จึงส่งผลให้การอ่านของคนในชนบทน่าเป็นห่วงมากกว่าสังคมเมือง ดังนั้นโจทย์การอ่านทั่วไทย ถือเป็นโจทย์ที่ดีมากในการสร้างโอกาสให้แก่คนในชนบทให้มากขึ้น
“คนที่น่าเป็นห่วงคือคนในสังคมชนบท เพราะขาดโอกาส ดังนั้นทำอย่างไรวัฒนธรรมการอ่านจึงจะไปอยู่ในวิถีชีวิตของพวกเขาได้ ไม่ใช่รอให้ฐานะทางเศรษฐกิจดีขึ้น หรือมีการศึกษาสูงขึ้นก่อน แต่รัฐบาลและทุกฝ่ายต้องช่วยกันทำให้ประชาชนเห็นว่าการอ่านหนังสือ มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพเขาอย่างไร ถ้าเขาตระหนักว่าองค์ความรู้ที่ได้จากการอ่านมีอิทธิพลต่อชีวิต ก็จะทำให้เกิดแรงจูงใจในการอ่านหนังสือ อย่างไรก็ตามปัจจุบันหนังสือที่ตอบโจทย์ชนชั้นกลางยังมีน้อย ทั้งในแง่ของเนื้อหาและราคาที่คนกลุ่มนี้จะเข้าถึงได้” นายกุลธร กล่าว
http://www.dailynews.co.th/education/158521
-
14 คนถูกใจสิ่งนี้
bill, BleedItOut67, boomcitybus, bus50542, FlukebuS, FouRBuS, J'Zoom, kobkiat, nutbbc, OHMMAEKLONG, petchakasem81, private, T.B.S., waves9119
-
โอ้ว
ไม่มีเงิน
-
-
จนแล้วครับ ช่วงนั้น ไม่ได้ซื้ออีกตามเคย
-
กฎการโพสข้อความ
- ท่าน ไม่สามารถ ตั้งกระทู้ใหม่ได้
- ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ได้
- ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ได้
- ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขข้อความโพสได้
กฎระเบียบ